อาหารเสริม ลดน้ําตาลในเลือด  โรคเบาหวานคืออะไรโรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของฮอร์โมนที่ชื่อว่า “อินซูลิน (Insulin)” ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้ เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่นำพาน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่สมองและกล้ามเนื้อเมื่ออินซูลินเกิดความผิดปกติ ทำงานได้ไม่เต็มที่ น้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดจึงไม่ถูกนำไปใช้ ทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดมีมากเกินจนสูงเกิดเกณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้นมานั่นเองสำหรับคุณแม่คนไหนที่กำลังกลัวการเป็น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหาร หากเรารู้จักที่จะควบคุมการทานอาหารก็จะสามารถลดความเสี่ยงของ  โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์  ได้ ดังนั้นเราจึง รวม 13 อาหารลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนท้อง เพื่อลดความเสี่ยง โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน

อาหารเสริม ลดน้ําตาลในเลือด  ประเทศไทย มียอดผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานมากุคง 8,000 คนต่อปี ซึ่งมีทั้งผู้สูงอายุ และคนรุ่นใหม่ที่ขาดการใส่ใจในเรื่องการดูแลสุขภาพ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะป่วยเป็นเบาหวานได้ง่าย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า “โรคเบาหวาน เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา“โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน : เกิดแบบเฉียบพลันไม่ทันได้ตั้งตัว ไม่มีสัญญาณเตือน เมื่อเกิดแล้วอาการจะรุนแรง ต้องรีบทำการรักษาโดยด่วน ได้แก่ ภาวะหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะชักเกร็งภาวะแทรกซ้อนแบบเรื้อรัง : มักจะเกิดกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมานาน อย่างต่ำ 5 ปี โดยจะเกิดความเสื่อมของเส้นเลือดตามอวัยวะต่าง ๆ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด บริเวณที่เส้นเลือดเสื่อม ได้แก่ สมอง หัวใจ ตา ไต เส้นเลือดที่ขา และระบบประสาท

เบาหวานขึ้นตา

เรียกได้ว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนทางตา ที่เกิดขึ้นได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน มีทั้งจอประสาทตาเสื่อม ไปจนถึงขั้นตาบอด หลายคนมักเรียกอาการแทรกซ้อนทางตาว่า “เบาหวานขึ้นตา” มีสาเหตุมาจากเส้นเลือดในจอประสาทตาเริมอักเสบ โป่งพอง และมีเลือด น้ำหนองไหลซึมออกมา แต่ไม่ต้องตกใจ เพราะอาการนี้ไม่ใช่อาการแทรกซ้อนเฉียบพลัน แต่เป็นอาการแทรกซ้อนเรื้อรัง ที่จะค่อย ๆ แสดงอาการ ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานบางคนไม่ทันรู้ตัวผู้ป่วยบางรายละเลยคำแนะนำของแพทย์ ทำให้อาการเบาหวานขึ้นตาร้ายแรงถึงจุดศูนย์กลางของการรับภาพ หลอดเลือดและผังผืดบริเวณตามีผนังไม่แข็งแรง ขาดง่าย อาจนำไปสู่ขั้นร้ายแรงสุด คือ ตาบอดสนิทได้

เบาหวานลงไต

รู้หรือไม่ว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 20-40 มีโอกาสเป็นเกิดภาวะไตวายได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติ ทำให้ไตทำงานหนัก เพราะต้องกรองน้ำตาลให้คงไว้ในร่างกายอยู่ตลอดเวลา จนเกิดการเสื่อมสภาพ เมื่อไตเกิดความผิดปกติ ก็นำไปสู่ปัญหาไตไม่สามารถกรองโปรตีนให้ร่างกายได้ โปรตีนจึงอยู่ในปัสสาวะจำนวนมาก เมื่อเป็นแบบนี้เรื่อย ๆ จึงนำไปภาวะไตวายในอนาคต

ชาปลายมือปลายเท้า

อาการนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นบริเวณเส้นประสาท ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีอาการช้าที่ปลายมือ ปลายเท้า พอมีอาการชา เวลาที่เกิดแผลก็จะไม่รู้สึกตัว หากเกิดแผลแล้ว แผลก็จะหายช้า เป็นเหตุทำให้เกิดปัญหาแผลที่เท้าลุกลามจนอาจถูกตัดนิ้ว หรือตัดเท้าบางส่วน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตันร่วมด้วย

เส้นเลือดแดงใหญ่อุดตัน

อวัยวะที่มีเส้นเลือดใหญ่ได้แก่ สมอง หัวใจ และเท้า ผู้ป่วยเบาหวาน มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดหัวใจตีบตัน หรือเกิดการตีบตันของเส้นเลือดบริเวณขา ทำให้ปวดน่อง อาการหนักสุด คือ บริเวณที่เกิดเส้นเลือดตีบตันเกิดเนื้อเยื่อตายก็อาจจะถูกตัดส่วนนั้นทิ้งเพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วยก็ได้

เส้นเลือดหัวใจตีบ

ผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดโรคหัวใจ มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวกว่าผู้ป่วยทั่วไปสูงถึง 1.5 เท่า และมีโอกาสเสียชีวิตสูงมากถึง 2 เท่าเลย เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง มีโอกาสที่จะเกิดหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ เสียชีวิตเฉียบพลันได้

เส้นเลือดสมองตีบ

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 70 ปี มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบ โดยอัตราการเกิดของโรคนี้ในผู้ป่วยเบาหวาน เท่ากับร้อยละ 3.5 และปัจจัยเสี่ยงรองลงมาที่อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ได้ คือ มีโรคความดันโลหิต และระดับไขมันในเลือดผิดปกติร่วมด้วยอย่างที่ทราบกันดีว่า โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็เป็นโรคที่ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ หากมีการดูแลตัวเองที่ดี ซึ่งการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และตัวผู้ป่วยเอง สิ่งสำคัญของการรักษาโรคนี้ คือ ต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ ด้วยการคุมอาหาร และใช้ยาร่วมด้วย นอกจากนี้ควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควรมีการติดตามการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นการดูแลโรคเบาหวานไม่ให้อาการหนัก ไม่ให้น้ำตาลสะสมเกินเกณฑ์ ซึ่งเป้าหมายของผู้ป่วยแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่สามารถดูแลค่าน้ำตาลด้วยวิธีที่คล้าย ๆ กัน ตามด้านล่างนี้เลย  อาหารเสริม ลดน้ําตาลในเลือด